เตรียมจัดจุดทิ้งขยะอันตราย 50 เขต

สำนักสิ่งแวดล้อมกรุงเทพมหานคร (กทม.) กล่าวถึงแนวทางกำจัดขยะอันตรายในพื้นที่กรุงเทพฯว่าขยะของเสียอันตรายเป็นขยะชนิดหนึ่งที่ในพื้นที่กรุงเทพฯมีจำนวนเพิ่มากขึ้นในทุกๆปี โดยเฉพาะขยะอิเล็กทรอนิกส์ที่การพัฒนาเทคโนโลยีต่อเนื่องทำให้ขยะดังกล่าวก็เพิ่มมากขึ้น

โดยปัจจุบันพื้นที่กรุงเทพฯขยะอันตรายที่เก็บจากชุมชนจะถูกทิ้งปะปนกับขยะประเภทอื่นๆโดยหากจัดเก็บและกำจัดไม่ถูกต้องก็จะเกิดผลเสียต่อสภาพแวดล้อมและอาจมีสารอันตราย อาทิตะกั่ว แคดเมียม ปรอทที่หากไม่ได้รับการกำจัดอย่างถูกวิธีและเกิดการรั่วไหลสู่สิ่งแวดล้อมอาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยของประชาชนทั้งในระยะสั้นและระยะยาวได้สำหรับขยะอันตรายที่พบมากที่สุดคือกลุ่มกระป๋องสเปรย์ และอื่นๆ64เปอร์เซ็นต์กลุ่มหลอดไฟ 27เปอร์เซ็นต์และกลุ่มแบตเตอรี่ ถ่านไฟฉาย9เปอร์เซ็นต์ โดยกทม.จะเป็นผู้จัดเก็บและว่าจ้างเอกชนที่มีใบอนุญาตการกำจัดขยะอันตรายจากกรมควบคุมมลพิษเป็นผู้ดำเนินการกำจัด
รายงานต่อว่า อย่างไรก็ตามการกำจัดขยะอันตรายในปัจจุบันที่กทม.ดำเนินการจัดเก็บได้นั้นไม่ใช่ขยะอันตรายที่เกิดขั้นจริงทั้งหมดโดยขยะดังกล่าวตกหล่นจากระบบจำนวนมาก ทั้งนี้ปัจจุบันกทม.จัดเก็บขยะอันตรายเพื่อนำไปกำจัดอย่างถูกต้องได้เพียงเดือนละประมาณ60ตันแต่ประการณ์ขยะอันตรายที่เกิดขึ้นจริงในกรุงเทพฯมากถึง900ตันต่อเดือน ดังนั้นขยะอันตรายที่หลุดจากระบบกำจัดที่ถูกต้องก็เกิดการแยกส่วนปนเปื้อนไปตามชุมชนพื้นที่ต่างๆ
ดังนั้นกทม.จึงได้สั่งการให้สำนักงานเขตทั้ง50เขตเร่งเผยแพร่ข้อมูลการคัดแยกขยะอันตรายออกจากขยะทั่วไปใส่ถุงอย่างมิดชิดและสำนักงานเขตจะส่งรถเข้าจัดเก็บทุกวันที่1 และ 15ของเดือน นอกจากนี้กทม.เตรียมจะจัดตั้งจุดทิ้งขยะอันตรายเพื่อให้ประชาชนนำมาทิ้งได้อย่างสะดวกในพื้นที่50เขตอีกด้วยเพื่อให้เป็นพื้นที่ที่จะรองรับขยะพิษจากประชาชนได้ตลอดเวลา///สสส.